ITD CRUSHING / ASPHALTIC PLANTS

 

 

 

 

THAILAND DEVELOPMENT MASTER PLAN - PTT INVESMENT PLAN IN EASTERN SEABOARD

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่  8-9 (2540-2549) อ้างอิง

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกให้สมบูรณ์ และพร้อมที่จะรองรับการกระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการเคลื่อนย้ายประชากร โดยเฉพาะจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑลไปตั้งถิ่นฐานในพื้นที่นี้ได้เพิ่มขึ้น ควบคู่ไปกับการยกระดับให้เป็นประตูเศรษฐกิจของประเทศที่สามารถเชื่อมโยงทางอากาศกับนานาชาติ นอกเหนือจากทางทะเล โดย
 

(1) พัฒนาโครงข่ายระบบการขนส่งต่อเนื่องจากที่มีอยู่แล้ว ดังนี้
 

(1.1) พัฒนาโครงข่ายถนนสายใหม่เชื่อมโยงพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และกลุ่มประเทศอินโดจีน และก่อสร้างถนนสายรอง เพื่อเปิดพื้นที่ใหม่ที่มีศักยภาพและพัฒนาเป็นเขตอุตสาหกรรมและชุมชนเชื่อมโยงกับท่าเรือแหลมฉบังและมาบตาพุด
 

(1.2) ลงทุนระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีในการเดินทางของประชาชนเชื่อมโยงกรุงเทพมหานครกับท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่ 2 และแหล่งชุมชนชายฝั่งทะเลตะวันออก
 

(2) สนับสนุนให้มีการจัดตั้งนิคม/เขตอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก ในพื้นที่ตอนในที่มี
ศักยภาพ เพื่อส่งเสริมการลงทุนและจ้างงาน
 

(3) พัฒนาท่าเรือพาณิชย์ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกให้เป็นท่าเรือหลักของประเทศแทนท่าเรือคลองเตยภายในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 และ 4 ให้แล้วเสร็จในช่วง 5 ปีต่อไป เพื่อเป็นฐานเศรษฐกิจหลักที่จะรองรับการจ้างงานของประชากรในพื้นที่ ควบคู่ไปกับการ
ดูแลรักษาสภาวะแวดล้อมที่ดีให้คงไว้
 

(4) พัฒนาสนามบินอู่ตะเภาเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ให้มากขึ้น และสนับสนุนภาคเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาการผลิตทางอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับการขนส่งทางอากาศ และความ
ก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อกระตุ้นให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการบิน
 

(5) พัฒนาแหล่งน้ำ ระบบผลิตและจำหน่ายน้ำ ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพให้เพียงพอและ
ทั่วถึงสำหรับชุมชนและแหล่งอุตสาหกรรม โดยสนับสนุนให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น

(6) จัดให้มีพื้นที่เพื่อการพัฒนาบริการโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมด้านการศึกษา สาธารณสุข การฝึกอบรมควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ เพื่อรองรับประชาชนที่อพยพ
เคลื่อนย้ายจากที่ต่างๆ เข้ามาทำงานและอยู่อาศัยอย่างถาวรและให้ประชาชนได้รับผลจากการพัฒนาอย่างสมบูรณ์
 

(7) จัดระบบกลไกการบริหารจัดการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกให้เกิดความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และนำไปสู่การมีองค์กรถาวรที่มีเอกภาพ ทำหน้าที่กำกับดูแลการวางแผน การพัฒนาและการบริหารจัดการภายในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ
(8) พัฒนาระบบกลไกเพื่อสร้างกระบวนการให้ประชาชนและชุมชนในระดับพื้นที่ ได้เข้ามามี
ส่วนร่วมในการจัดทำแผนงานการพัฒนาของรัฐและติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

แผนพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 3 (2547-2561) มูลค่าลงทุนรวม 3.5 แสนล้านบาท

สาเหตุที่รัฐบาลให้ความสำคัญอุตสาหกรรมดังกล่าว เพราะเห็นว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจะมีบทบาทในการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้ขยายตัว เนื่องจากอัตราเติบโตของผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกอยู่ที่ 1.2 เท่า ถึง 1.7 เท่าของจีดีพี ในช่วงปี 2546-2552 ขณะที่อัตราการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีต่อคนไทยอยู่ที่ 37 กก.ต่อคนต่อปีเท่านั้น เมื่อเทียบกับสหรัฐที่ใช้มากถึง 96 กก.ต่อคนต่อปี

สำหรับแผนพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่จะเสนอ ครม.พิจารณานั้น ประกอบด้วยพื้นที่ตั้งโครงการ ซึ่งกระทรวงเสนอพื้นที่มาบตาพุด จ.ระยอง เพราะเห็นว่ามาบตาพุดยังมีพื้นที่ว่าง เช่น พื้นที่ของปูนซิเมนต์ไทย หรือบริษัทอะโรเมติกส์ไทย จำกัด ( มหาชน ) รองรับหลายพันไร่ นอกจากนี้ พื้นที่มาบตาพุดยังมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานไว้แล้วกว่า 2.8 แสนล้านบาท ภายใต้โครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด ส่วนคอมเพลกซ์ปิโตรเคมีระยะที่ 1 ส่วนระยะที่ 2 เสนอพื้นที่แลนด์บริดจ์ภาคใต้ เพื่อรองรับการเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบ

ขณะที่แผนพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะ 3 เรื่องการลงทุนนั้น กระทรวงพลังงานจะเสนอไปตามที่สถาบันปิโตรเลียมเคยศึกษาไว้ โดยเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีโอกาสในการผลิตทั้งสิ้น 33 ผลิตภัณฑ์ ทั้งสายโอเลฟินส์ และอะโรเมติกส์ ผลิตภัณฑ์ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ รวมถึงผลิตภัณฑ์ทั่วไป เช่น พีวีซี เป็นต้น และผลิตภัณฑ์ชนิดพิเศษ ซึ่งส่วนนี้ภาครัฐอาจเป็นตัวกลางพิจารณาความเหมาะสมการลงทุน เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน และเกิดความร่วมมือใช้วัตถุดิบ รวมทั้งนำไปโยงกับการเพิ่มมูลค่าก๊าซธรรมชาติ เพราะเป็นวัตถุดิบที่ทำให้การผลิตปิโตรเคมีมีขีดแข่งขันสูง เนื่องจากต้นทุนการผลิตต่ำ

  1. โครงการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ (Transmission Pipeline)
  2. โครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติ
  3. โครงการก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (Natural Gas for Vehicle หรือ NGV)
  4. โครงการก๊าซธรรมชาติเหลว (Liquefied Natural Gas หรือ LNG)

แผนการลงทุน ปตท. ปี 2551-2555 ประมาณ 2.4 แสนล้านบาท เน้นลงทุนก๊าซกว่า 1.7 แสนล้าน
หน่วย : ล้านบาท
ธุรกิจ ปี 2551 ปี 2552 ปี 2553 ปี 2554 ปี 2555 รวม
ก๊าซธรรมชาติ 39,933 54,555 43,510 22,140 13,016 173,154
น้ำมัน 4,118 1,816 1,885 1,533 1,58710,939
บริษัทร่วมทุน
- ก๊าซฯ 15,426 9,355 9,234 3,593 1,026 38,634
- น้ำมัน 3,887 1,437 1,662 1,309 1,3639,658
- ปิโตรเคมีและการกลั่น 1,880 2,609 1,692 - - 6,181
- สำนักงานใหญ่ 1,134 203 60 68 731,538
สำนักงานใหญ่ และอื่นๆ 919 486 345 354 358 2,462
รวม 65,563 71,905 58,390 28,663 16,690241,211

www.thaienergy.org

"ปตท." เปิดแผนลงทุนระยะยาวถึงปี 63 ทุ่มเงินลงทุนกว่า 4 ล้านล้านบาท หรือ 1.25 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งลงทุนในประเทศและต่างประเทศเป็นสัดส่วน 39 ต่อ 61 ระบุส่วนใหญ่ลงทุนในกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมูลค่ากว่า 76,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้าน "ประเสริฐ" ฟุ้งเตรียมผลักดันให้เป็นบริษัทพลังงานข้ามชาติของโลก ตั้งเป้าติดอันดับ 1 ใน 100 "ฟอร์จูน" ภายในปี 2555 พร้อมเปรยจะถึงฝั่งฝันหรือไม่ขึ้นอยู่ผู้ถือหุ้นหลักจะยอมรับราคาพลังงานต้องสะท้อนตลาดโลก มิใช่คอยโอบอุ้มผู้บริโภค

 

นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) หรือ PTT เปิดเผยถึง แผนการลงทุนระยะยาวของกลุ่มบริษัทในเครือปตท. ว่า ในช่วงตั้งแต่ปี 2551-2563 เครือปตท.มีแผนจะลงทุนประมาณ 125,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นประมาณ 4 ล้านล้านบาท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพในการดำเนินธุรกิจด้านพลังงานของบริษัท ขณะเดียวกันยังมีเป้าหมายที่จะผลักดันให้ปตท. เป็นบริษัทข้ามชาติด้านพลังงานของโลก ด้วยการนำบริษัทติดอันดับ 100 บริษัทของฟอร์จูนภายในปี 2555 จากเมื่อปี 2550 ปตท.ติดอยู่ในอันดับ 207

"เรามีโอกาสจะเป็นบริษัทข้ามชาติของโลกด้านพลังงาน ถ้าผู้ถือหุ้นหลักทั้งหมดยอมรับความจริง แต่ถ้าเรามองว่าราคาพลังงานแพงประชาชนเดือดร้อน ไม่รับความเป็นจริงราคาพลังงานตลาดโลกก็เป็นไปไม่ได้ เพราะเวลานี้เรตติ้งปตท.ก็คือเรตติ้งประเทศ แต่ที่ผ่านมาเราก็ได้ทำแบบพอเพียงไม่เกิน ไม่ต่ำ ดูแลสังคมประกอบมาอย่างสม่ำเสมอ แต่ต้องยอมรับข้อหนึ่งว่าปตท.ผูกชีวิตไว้กับราคาพลังงาน ต้องแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดโลก แข่งกับโรงกลั่นน้ำมันในจีน แข่งธุรกิจปิโตรเคมีกับอินเดีย ซึ่งจะอยู่ได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับศักยภาพของเราเอง" นายประเสริฐกล่าว

สำหรับรายละเอียดแผนการลงทุนปี 2551-2563 มูลค่าลงทุนรวม 125,000 ล้านเหรียญสหรัฐนั้น แบ่งเป็นสัดส่วนประมาณ 61%ลงทุนในต่างประเทศ และที่เหลืออีก 39% เป็นการลงทุนในประเทศ ประกอบด้วย กิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม 76,000 ล้านเหรียญสหรัฐ กิจการก๊าซธรรมชาติ 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ กิจการปิโตรเคมี 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ กิจการโรงกลั่นน้ำมัน 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ กิจการไฟฟ้า 3,600 ล้านเหรียญสหรัฐ

นอกจากนี้ ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวกลุ่มปตท.ยังมีแผนที่จะลงทุนในกิจการพลังงานใหม่ๆ ด้วย ประกอบด้วย ลงทุนในกิจการเอทานอลประมาณ 2,400 ล้านเหรียญสหรัฐ ลงทุนเกี่ยวกับปาล์มดิบ 1,600 ล้านเหรียญสหรัฐ การค้าถ่านหิน 1,600 ล้านเหรียญสหรัฐ และการค้าปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงประมาณ 400 ล้านเหรียญสหรัฐ

นายประเสริฐ กล่าวว่า จากแผนการลงทุนดังกล่าวภายในปี 2555 บริษัทคาดว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 94,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จากปี 2550 ที่มีรายได้ 47,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือมีอัตราการเติบโตประมาณ 15% ต่อปี และภายในปี 2563 ตั้งเป้ามีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 176,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือมีการเติบโตประมาณ 8% ต่อปี อย่างไรก็ตาม ปตท.ยังต้องมีการเตรียมความพร้อมเรื่องบุคลากรไว้รองรับ ซึ่งประเมินว่าอีก 12 ปีข้างหน้า หรือภายในปี 2563 ปตท.ต้องการบุคลากรฝ่ายบริหาร ตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการฝ่ายขึ้นไป ประมาณ 410 คน สามารถที่จะพัฒนาคนภายในองค์กรขึ้นมาแทนได้ระดับหนึ่งเท่านั้น แต่คาดว่าจะยังขาดแคลนบุคลากรและต้องเร่งพัฒนาอีกประมาณ 270 คน

ก่อนหน้านี้ ปตท. ได้จัดทำแผนการลงทุน 5 ปี (ปี 2551-2555) จะใช้เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 241,211 ล้านบาท หรือประมาณ 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในธุรกิจก๊าซฯ ถึง 72% เช่น โครงการท่อก๊าซฯในทะเลเส้นที่ 3 เฟส 2 โครงการท่อก๊าซฯ บนบกเส้น 3 โครงการท่อก๊าซฯบนบกเส้น 4 โครงการแอลเอ็นจี เทอร์มินอล เป็นต้น

โดยในปี 2551 นี้ บริษัทจะใช้เงินลงทุนในโครงการต่างๆ ประมาณ 65,563 ล้านบาท ในปี 2552 ใช้เงิน 71,905 ล้านบาท ปี 2553 ใช้เงิน 58,390 ล้านบาท ปี 2554 เงินลงทุน 28,663 ล้านบาท และปี 2555 เงินลงทุน 16,690 ล้านบาท

ส่วนแผนการลงทุนของกลุ่มปตท. ในปี 2551-2555 นั้น ตั้งเป้าจะใช้เงินลงทุนประมาณกว่า 8 แสนกว่าล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนของธุรกิจการกลั่นและปิโตรเคมี 5 แสนกว่าล้านบาท ธุรกิจสำรวจและผลิตของบมจ.ปตท.สผ.และปตท.อีก 2 แสนกว่าล้านบาท

สำหรับผลการดำเนินงานบมจ. ปตท. ล่าสุด ประจำงวดไตรมาส 1 สิ้นสุด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2551 บริษัทและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 26,132.56 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 9.27 บาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิ 22,573.04 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 8.05 บาท หรือกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 3,559.52 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วน 15.77%

โดยไตรมาสแรก ปตท. รายได้จากการขาย 489,890 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนจำนวน 192,176 ล้านบาท หรือคิดเป็น 64.6% ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากปริมาณขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติและผลิตภัณฑ์โรงแยกก๊าซที่สูงขึ้นตามความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงราคาขายที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ EBITDA อยู่ที่ 36,812 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,937 ล้านบาท หรือ 12.0% ขณะที่กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 4,488 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,535 ล้านบาท หรือ 153.4% ตามการแข็งตัวของค่าเงินบาท